กลยุทธ์สู่ชัยชนะ เหมาะกับทุกคน ที่ต้องการเป็นผู้ชนะ ไม่ว่าจะเผชิญกับคู่แข่งแบบไหนก็ตาม ไม่มีมนุษย์คนใดต้องการเป็นผู้แพ้ สมมุติว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถ มีสติปัญญาเท่ากัน และแข่งขันในเวลา สถานที่ สภาวะแวดล้อม ตัวแปร และปัจจัยเดียวกัน ผลของการแข่งขันควรจะะออกมา แบบเสมอกัน แต่ในความเป็นจริง..ผู้ที่เลือกใช้กลยุทธ์ที่ดีกว่า เหมาะสมกว่า มักเป็นผู้ชนะเสมอ
Michael E.Porter ผู้เป็นปรมจารย์เรื่องกลยุทธ์ แห่ง Harvard University กล่าวว่า..
(ขอบคุณภาพจาก quotesgram.com)
แปลได้ว่า…กลยุทธ์เป็นเรื่องของการเลือก คือความรอบครอบในการเลือกที่จะแตกต่าง
ดังนั้น ในเมื่อทั้งสองฝ่ายมีทุกอย่างเท่าและเหมือนกันหมด ถ้าเราต้องการ เป็นผู้ชนะ..เราจำเป็นที่ จะต้องสร้างความได้เปรียบด้วยการแตกต่างจากผู้อื่น และ การเลือกที่จะแตกต่างอย่างไร ก็คือ กลยุทธ์ ที่คุณจะต้องใช้นั่นเอง
การเลือกใช้กลยุทธ์ที่ถูกต้อง เหมาะกับศัตรู หรือ ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ส่งผลให้คุณเป็นดั่ง คำกล่าวของซุนวู เจ้าของตำราพิชัยสงคราม ที่ว่า..
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง
จะรบร้อยชนะร้อยได้ ก็ต้องรู้จักศัตรูก่อน คำว่าศัตรูคงไม่ได้หมายความถึงเพียงศัตรูในสนามรบ แต่รวมถึงคู่แข่งหรือคนที่เรากำลังเผชิญหน้า หรือคนที่เรากำลังมีปัญหากับเค้า อาจจะเป็น เจ้านาย ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน คู่ค้า คู่แข่งทางธุรดิจ เพื่อน หรือ คนในครอบครัว ก็ได้
ถ้าเราแบ่งศัตรูตามลักษณะนิสัย ออกเป็นประเภทๆ ซึ่งแต่ละประเภทก็มีจุดอ่อนจุดแข็งที่ต่างกัน การจะเอาชนะจึงจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน
คนเหล่านี้ไม่เคยให้ มีแต่รับ เราต้องทำให้เข้าใจว่า การให้และการเสียสละคืออะไร มันต้อง “Give and Take” คือให้ก่อนแล้วจึงรับ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ คุณจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้คนเหล่านี้ได้เห็น ที่สำคัญคือนิสัยเห็นแก่ตัว เป็นนิสัยที่แก้ได้ยาก ดังนั้นคุณจะต้องมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ด้วย
กลยุทธ์ คือ “การให้”
เนื่องจากคนเหล่านี้เป็นคนใจร้อน โมโหง่าย มีความอดทนต่ำ เป็นพวกที่มีอำนาจอยู่ในมือ แต่อย่าลืมนะครับว่า อำนาจไม่ได้อยู่ในมือผู้ใดผู้หนึ่งตลอดไป อำนาจมีเวลาของมันเสมอ ดังนั้นคนเหล่าจำเป็นต้องรีบใช้อำนาจ จงใช้เวลาของคุณให้เป็นประโยชน์ ศัตรูจะหมดความอดทนและแพ้ภัยตัวเองในที่สุด
กลยุทธ์ คือ “ความอดทน”
คนเหล่านี้มักจะมีปมด้อย หรือกำลังมีปัญหาบางอย่าง เราต้องช่วยแก้ปัญหาด้วยการหยิบยื่นโอกาสให้ เพื่อให้คนเหล่านี้ได้แสดงความสามารถ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองนั่นเอง ในที่สุดแล้วคนเหล่านี้จะรู้จักคิดและวางแผนในการใช้กำลังและความสามารถ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
กลยุทธ์ คือ “ความเมตตา”
การไปโต้แย้ง การจะเอาชนะ และการแก้แค้น ทำให้คนเหล่านี้ตอบโต้รุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างรอยร้าวให้ใหญ่ขึ้นและเอาชนะได้ยากกว่าเดิม สิ่งแรกที่ต้องทำคือการรับฟังและเข้าใจในสิ่งที่คนเหล่านี้เป็นอยู่ เพื่อสร้างการยอมรับซึ่งกันและกันก่อน เอาชนะใจให้ได้ หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ปรับทัศนคติที่ผิดให้กลับมาถูกต้อง
กลยุทธ์ คือ “การเอาชนะใจ”
กลยุทธ์ที่ต้องใช้คือ “ความสงบ สยบเคลื่อนไหว” อย่าได้ตอบโต้ เพราะจะเป็นการเข้าทางของศัตรู..เวลาและสถานะการณ์จะพิสูจน์ตัวมันเอง คนเหล่านี้จะทนรอผลที่เกิดจากการโกหกหลอกลวงไม่ได้นานเพราะกลัวคนจับได้ เพียงคุณอดทนไว้ คนเหล่านี้จะเผลอแสดงออกมาด้วยตัวเองว่าสิ่งที่เค้าโกหก หลอกลวงไว้มันไม่ใช่ความจริง
กลยุทธ์ คือ “ความสงบ สยบเคลื่อนไหว”
คนหลงตัวเองนั้นก็คือคนที่ด้อยความรู้ ความสามารถ จึงต้องทำตัวเหมือนคนเก่ง และจะคอยขัดขวางไม่ยอมให้ผู้อื่นมีผลงานเหนือกว่าตนได้ จึงจำเป็นต้องใช้เหตุผล ชี้แจงให้เห็นว่าอะไรคือสิ่งดีและจำเป็นจะต้องทำ ชี้ให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ให้ยอมรับทีละจุดๆ ไปเรื่อยๆ
กลยุทธ์ คือ “การใช้เหตุผล”
การใช้กลอุบายก็คือหลอกเพื่อให้ได้เปรียบหรือไม่ให้เสียเปรียบ ซึ่งคือการปกปิดจุดอ่อนของตัวเองนั่นเอง ลองวิเคราะห์หาจุดออ่อนจากกลอุบายนั้นๆ เมื่อพบแล้วอย่าได้ไปเปิดโปงจุดอ่อนนั้นออกไปเลยเชียว เพราะนั่นคือ .. การสร้างศัตรูถาวร แต่จงช่วยแนะนำให้รู้ว่าจุดอ่อนนั้นควรจะแก้ไขอย่างไร จึงเป็นการผูกมิตรและเป็นชัยชนะที่ถาวร
กลยุทธ์ “การให้ความรู้”
คนมี Ego ก็เพราะเชื่อและมั่นใจว่าตัวเองดี ตัวเองเก่ง (ซึ่งอาจจะดี จะเก่งจริงๆ ก็ได้) คนเหล่านี้จะยอมรับคนที่เก่งกว่าตนเท่านั้น ดังนั้นเราต้องเอาชนะด้วย “ผลงาน ที่ดีกว่า” อันเกิดจากปัญญาหรือความรู้ ความสามารถที่แท้จริงของคุณ เมื่อใดที่คนมี Ego ยอมรับในความสามารถของใคร..จะยอมรับแบบหมดทั้งใจ
กลยุทธ์ “ผลงานที่ดีกว่า”
ลองนำไปประยุกต์ใช้ดู ผมเชื่อว่านี่คือ 8 ประเภทหลักของคนที่อยู่ในสถานะที่เรียกว่า “ศัตรู” หรือ “คู่แข่ง” และนี่คือกลยุทธ์ที่จะเอาชนะคนประเภทต่างๆ หรือศัตรู และศัตรู ที่คุณกำลังเผชิญหน้าอยู่นั่นเอง
ผมอยากบอกว่า ชัยชนะที่แท้จริงไม่ใช่การทำลาย หรือหักหาญคนเหล่านั้น ชัยชนะที่แท้จริง คือ การช่วยให้คนเหล่านั้นมีความสามารถมากขึ้น และ เปลี่ยนจากศัตรูมาเป็นมิตรกับเรา
ดัดแปลงจาก คาถาพาหุง หรือ ชัยมงคลคาถา