ของกินไทยๆ หลายอย่างมีชื่อประเทศอื่นๆ รวมอยู่ในชื่อของมัน แต่มันอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศนั้นๆ เลย บางชนิดไม่มีขายในประเทศนั้นๆ เสียด้วยซ้ำ วันนี้มาดู 5 อันดับของกินไทยใส่ชื่ออินเตอร์ จนทำเราเข้าใจผิดว่าเป็นอาหารต่างประเทศนั้นมีอะไรบ้าง
(ขอบคุณภาพจาก : edtguide.com)
ไม่ได้เป็นขนมแต่เป็นอาหารคาว และไม่ใช่อาหารจีน แต่เป็นอาหารมอญ
คำว่า “ขนมจีน” มาจากภาษามอญว่า “ขฺนํจินฺ” [คะ -นอม-จีน] คำว่า “คะนอม” มีความหมายอย่างหนึ่งว่าเส้นขนมจีน คำว่า “จีน” มีความหมายว่า “สุก”
ที่มา : Wikipedia
(ขอบคุณภาพจาก : Lepak with Yaps)
เป็นขนมไทย แบบไม่แท้ มีชื่อแปลกๆ ว่า “กล้วยแขก” ทั้งๆ ที่เมืองแขกไม่มีขาย
ประวัติและที่มาของกล้วยแขกทอด ไม่ทราบแน่ชัด แต่กล้วยแขกน่าจะเป็นอาหารที่มาจากวัฒนธรรมการปรุงอาหารของชาวอินเดีย ซึ่งจะใช้การทอดเหมือนกับถั่วทอด แต่กล้วยของชาวอินเดียจะใช้กล้วยทั้งลูกผสมผงขมิ้น แล้วนำมาทอด ที่ชาวไทยเรียกมันว่ากล้วยแขกเนื่องมาจากมันใช้วิธีทอดตามแบบวัฒนธรรมการทำอาหารของชาวอินเดีย บ้างก็ว่าเป็นขนมที่ชาวโปตุเกตุนำเข้ามาประเทศไทย เลยยังเป็นข้อถกเถียงกันเรื่อยมา ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้
ที่มา : Montfort College
(ขอบคุณภาพจาก Postjung.com)
ดูจากรูปร่างหน้าตา…ทำให้เชื่อได้ว่ามาจากประเทศญี่ปุ่น
แต่ใครที่เคยไปเที่ยวโตเกียว เมืองหลวงของญึปุ่น น่าจะยืนยันได้ว่า “ขนมโตเกียว” ไม่มีขายทั้งในเมืองโตเกียวและในประเทศญี่ปุ่น
ถ้าถามว่าเป็นขนมของประเทศไหน ? ตอบว่าของไทยเราเองนี่แหละ!! แต่ได้รับอิทธิพลมาจากขนมญี่ปุ่นและกลายพันธ์ุจนเป็นขนมไทยเต็มตัวในทุกวันนี้
ต้นกำเนิดของขนมโตเกียว..คาดว่าในสมัยที่ยังมีห้างไดมารุซึ่งเป็นห้างที่มีบันไดเลื่อนแห่งแรกของประเทศไทย (พ.ศ. 2507 อยู่ตรงราชดำริ) ขนมเหล่านี้คงหลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับสินค้าญี่ปุ่น ต่อมาชาวไทยก็ลองไปทำเลียนแบบ แล้วตั้งชื่อว่าขนมเกียวโตตามแหล่งผลิตขนมที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ภายหลังเพี้ยนมาเป็นขนมโตเกียว (เพราะคนไทยรู้จักแต่โตเกียว)
ในช่วงแรกๆ มีเพียงไส้สังขยาและครีมคัสตาร์ทเพื่อให้ถูกปากคนไทย ต่อมาจึงริเริ่มใส่ไส้กรอก และไข่นกกระทาเข้าไปจนกลายมาเป็นขนมโตเกียวที่เห็นกันในวันนี้
ที่มา : postjung
(ขอบคุณภาพจาก ครัวบ้านพิม)
หลอกได้หลอกดี ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ของสิงคโปร์
มีชื่อจริงๆ ว่า เชนดอล (cendol; /ˈtʃɛndɒl/) เป็นขนมพื้นบ้านที่มีจุดกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นที่นิยมในอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และสิงคโปร์
สาเหตุที่ในประเทศไทยใช้ชื่อว่า “ลอดช่องสิงคโปร์” นั้น มาจากเมื่อ พ.ศ. 2504 ร้านลอดช่องร้านแรกในประเทศไทย “สิงคโปร์โภชนา” ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์หรือโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช ผู้คนไปรับประทานจึงมักจะเรียกว่า “ลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์” จนในที่สุดตัดทอนเหลือแต่เพียง “ลอดช่องสิงคโปร์”
ร้านสิงคโปร์โภชนาก็ยังขายลอดช่องสิงคโปร์อยู่จนถึงปัจจุบัน
ที่มา : Wikipedia
ครองอันดับหนึ่ง หลอกได้เนียนมาก เพราะมีการใช้ส่วนประกอบเช่น ไข่ดาว ไส้กรอก แฮม ซอสมะเขือเทศ ที่ดูเป็นอาหารฝรั่งมากจนทำให้หลายๆ คนเข้าใจว่ามันมาจากอเมริกาจริงๆ
แต่ความจริงคือ…ชาวอเมริกันไม่รู้จักมัน และไม่มีอยู่ในเมนูของร้านอาหารอเมริกัน แต่ถ้าคุณไปร้านอาหารไทยอาจจะได้กินอาหารจานนี้ เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นอาหารที่คนไทยเป็นคนคิดขึ้นมา
ที่มาของชื่อ “ข้าวผัดอเมริกัน” มีอยู่สองสาย จะเชื่อใครก็ลองอ่านดูแล้วตัดสินใจเองนะคร้าบ
สายที่ 1 : คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต (เจ้าของนามปากกา “นิตยา นาฏยะสุนทร” ภรรยา นายวิลาศ มณีวัต บรรณาธิการ นสพ.ชาวกรุง คนแรก) เคยให้สัมภาษณ์หนังสือสกุลไทย เกี่ยวกับต้นกำเนิดของ “ข้าวผัดอเมริกัน” ว่าเป็นอาหารที่คุณหญิงสุรีพันธ์ได้ประยุกต์ขึ้นเอง ขณะทำงานเป็น ผู้จัดการราชธานีภัตตาคาร ซึ่งเป็น แอร์พอร์ตเรสตัวรองต์ ของกรมรถไฟ ในสนามบินดอนเมือง โดยที่มีสายการบินแห่งหนึ่งสั่งจองอาหารเช้า และอาหารกลางวันไว้แต่ยกเลิกเที่ยวบิน ทำให้อาหารเช้าแบบอเมริกันที่เตรียมไว้ เช่น ไข่ดาว ไส้กรอก เหลืออยู่จำนวนมาก คุณหญิงสุรีพันธ์ ได้นำข้าวผัดที่มีอยู่มาประกอบกับอาหารเช้าแบบอเมริกันดังกล่าวเพื่อรับประทาน นายทหารอากาศไทยที่เห็นเข้าได้สั่งรับประทานด้วย เมื่อทหารอเมริกันมาเห็นและถามถึงชื่อข้าวผัดดังกล่าว คุณหญิงสุรีพันธ์ ได้ตั้งชื่อว่า “อเมริกัน ฟรายด์ ไรซ์” หรือ “ข้าวผัดอเมริกัน”
สายที่ 2 : ข้าวผัดอเมริกัน เกิดจากพ่อครัวชื่อ “โกเจ๊ก” คิดค้นขึ้นเพื่อให้บริการทหารอเมริกันที่ประจำการอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาและในค่ายรามสูร ที่จังหวัดอุดรธานี ในช่วงที่ไทยยังเป็นที่ตั้งฐานทัพอเมริกาในสงครามเวียดนาม และต่อมาได้รับความนิยมจนเผยแพร่ไปทั่วประเทศ
ที่มา : Wikipedia
มีอาหารจานโปรดจานไหนที่คุณคิดว่าชื่อมันหลอกลวงอีกบ้าง?