Blog

พรบ. ลิขสิทธิ์ ช่วยขับเคลื่อน “Digital Economy” คุ้มครองผู้สร้างสรรค์งานบนอินเตอร์เน็ต กำหนดโทษการละเมิด 10,000 – 400,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิด ลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง จะมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา

กฎหมายฉบับนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน “Digital Economy” ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่จะอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศหรืออินเทอร์เน็ต ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ การแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อ ยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เว็บไซต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตปลอดจากงานละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะกฎหมายฉบับนี้ได้ดึงให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต เนื่องจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตไม่สามารถแก้ไขได้เพียงความ ร่วมมือของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้บังคับใช้กฎหมายเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตในการเข้ามามีส่วน ร่วมแก้ไขปัญหาด้วย ซึ่งเมื่อเจ้าของสิทธิพบงานละเมิดลิขสิทธิ์บนระบบของตนก็สามารถดำเนินการตาม ที่กฎหมายกำหนดและ ISP สามารถนำงานละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบของตนเองได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น และเมื่อ ISP ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดก็จะไม่ถือว่าเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วย กฎหมายฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์มั่นใจต่อการคุ้มครอง งานของตน และกล้าที่จะคิดงานใหม่ๆ อีกทั้ง ทำให้สภาพแวดล้อมการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตดีขึ้น ส่งผลให้การขับเคลื่อนนโยบาย Digital Economy มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดถึง “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ หรือข้อมูลเงื่อนไขการใช้สิทธิในงานนั้น ซึ่งปรากฏได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นชื่อจิตรกรหรือชื่อเจ้าของที่ติดอยู่ที่ภาพ หรือแม้กระทั่งลายน้ำที่แฝงอยู่ หากมีการลบหรือเปลี่ยนแปลง ก็จะถือว่าเป็นความผิดฐานใหม่คือ ละเมิดข้อมูลบริหารสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลก Social media ที่มีการแชร์รูปภาพ หรือ คลิปวีดีโอต่างๆได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว หากมีการนำรูปภาพที่มีการลบลายน้ำนั้น ไปแชร์ลง Social media ต่างๆ ผู้ที่แชร์นั้น นอกจากจะผิดฐานเผยแพร่ลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วยังจะผิดฐานลบข้อมูล บริหารสิทธิอีกฐานหนึ่งด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการอ้างอิงเจ้าของภาพนั้นๆ ก็ตามเพราะเป็นการนำภาพของผู้อื่นมาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

นอกจากนี้ กฎหมายใหม่นี้ยังได้กำหนดถึง “มาตรการทางเทคโนโลยี” หรือ เทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลนำมาป้องกันงานของตน เช่น การตั้งรหัสในการเข้ารับฟังเพลงต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต คนไหนอยากฟังเพลงหรือดาวน์โหลดเพลงก็ต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้รหัสในการฟัง หรือดาวน์โหลดเพลงนั้นๆแต่ก็จะมีคนบางกลุ่มที่ไม่อยากเสียเงิน แต่ใช้วิธีการแฮ็ค หรือหลบเลี่ยงมาตรการนั้นๆเข้าไปฟังเพลงหรือดาวน์โหลดฟรีๆ ก็จะถือเป็นความผิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกฐานหนึ่ง คือ ละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ การกระทำความผิดใหม่ ทั้งสองนี้ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท หากการกระทำเพื่อการค้า จะโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าเพิ่มเติมว่า สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มีอีกหลายส่วนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ วันของเราๆ เช่น การกำหนดให้เกิดความชัดเจนว่า เมื่อผู้ซื้อได้ซื้องานลิขสิทธิ์ เช่น หนังสือมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้ซื้อสามารถนำหนังสือไปขายต่อได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (สินค้ามือสอง) ซึ่งการบัญญัติในลักษณะนี้น่าจะเป็นการสร้างความชัดเจนให้แก่ประชาชนโดย ทั่วไปได้ นอกจากนี้ในการละเมิดลิขสิทธิ์บางกรณีหากปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการละเมิด ลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาเป็นเหตุให้งาน อันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่ หลาย เช่น การนำไปเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต กฎหมายนี้ก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษไม่เกิน สองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นมาตรการลงโทษที่หนักขึ้นซึ่งอาจมีส่วนทำให้การละเมิด ลดน้อยลง

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

(การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง)

 

 

1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา

2. มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป

3. สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้

(1) คุ้มครองข้อมูล การบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิใน ข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้คนอื่นมาลบ หรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ

(2) คุ้มครอง มาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของ ตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่ อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี

(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว   (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ใน หน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

(4) เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต(Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว  และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ดังกล่าว

(5) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมี ลิขสิทธิ์ โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง  ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และ วีดีทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้

(6) เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมี ลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการ แสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ

(7) เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่ม ขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนา ให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่าง แพร่หลาย

(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง

 

ที่มา : www.ipthailand.go.th

ดาวน์โหลด พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558



Search

Tag Cloud

Digital Marketing IT OST. ฟ. ฮีแลร์ OST. ฟ. ฮีแลร์ ครูฝรั่งแห่งสยามประเทศ SEM SEO smartphone SMM Strategy UI User Experience UX การขุนปลาเสือตอ การออกแบบเว็บที่ดี การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี การเลี้ยงปลาเสือตอ ความหวังในการเพาะพันธุ์ ปลาเสือตอ ความเป็นมาของปลาเสือตอ คุณลักษณะของเว็บไซต์ที่ดี ตู้ปลา ปฏิจจสมุปบาท ประสบการณ์ชีวิต ปลาสวยงาม ปลาเสือตอ ปลาเสือตอพันธุ์ไทย ปลาเสือตอลายคู่ ปลาเสือตอลายใหญ่ ปลาเสือตอเขมร พระมหาชนก พุทธศาสนา ฟ.ฮีแลร์ ครูฝรั่งแห่งสยามประเทศ ภาพยนตร์ ฟ. ฮีแลร์ รัชกาลที่ 9 วิธีดูปลาเสือตอ วิธีเลี้ยงปลาเสือตอ ศาสนาพุทธ องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี ฮวงจุ้ย ฮวงจุ้ยที่ทำงาน เหรียญพระมหาชนก เหรียญพระมหาชนกพิมพ์เล็ก เหรียญพระมหาชนกพิมพ์ใหญ่ โรงเรียนอัสสัมชัญ ในหลวง