บทความ วิธีและเทคนิค การเพาะพันธ์ุปลาเสือตอเขมร นี้ไอ้รับความอนุเคราะห์จากคุณ Kong Teerayut Siu ที่ได้แชร์ประสบการณ์ตรงที่ผ่านมาในการเลี้ยงปลาเสือตอมาเกือบ20ปี ไว้บน facebook ของกลุ่ม “คนรักปลาเสือตอ” โดยคุณ Kong Teeryut Siu กับคุณ พี่สมภพ Sompop Jitnamsup (หัวหน้าห้องกลุ่มคนรักปลาเสือตอ) มีความคิดที่จะถ่ายทอด ประสบการณ์ ในการเพาะเลี้ยง และ ขยายพันธุ์ ซึ่งเคยทดลองมาแล้วหลากหลายวิธีให้เพื่อนๆ สมาชิกรุ่นใหม่ได้มีแนวทางในการทดลองและปฎิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
ขอขอบคุณ : Kong Teerayut Siu และสมาชิกกลุ่ม “คนรักปลาเสือตอ” ทุกท่านที่ช่วยกันแบ่งปันความรู้ในครั้งนี้
เริ่มจากย้อนเวลาไปสักประมาณ 20 ปีที่ผ่านมายุคที่ปลาเสือตอลายใหญ่เขมรยังเป็นปลาที่หาได้ตามร้านค้าสัตว์น้ำโดยทั่วไปและตลาดจตุจักรในสมัยนันและมีราคาเพียงหลักร้อยบาท ซึ่งแตกต่างกับปลาอโรวาน่าที่กำลังพีคสุดขีดที่มีราคาหลักพันปลายๆในสายพันธุ์เอเชียอย่างสายพันธุ์ทองอินโดตัวแรกที่ได้เลี้ยงก็มีราคา 7,500 บาทในยุค 20 ปีก่อน ซึ่งปลาเสือตอมีราคาแค่ประมาณ 300-500 บาท ใส่ถุงวางขายอยู่ทั่วไป
(ขอบคุณภาพจากคุณ Kong Teerayut Siu)
แต่ใครจะทราบได้ว่า เหตุการณ์ดังเช่นวันนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยจู่ๆ ปลาเสือตอลายใหญ่นั้นได้เริ่มมีการนำเข้ามาน้อยลง และราคาแพงขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่ในบ้านเราก็ยังพอหาปลาได้ตามบ้านผู้เลี้ยงที่ชื่นชอบและเก็บไว้ในจำนวนที่พอสมควร
ซึ่งข้อมูลในตอนนั้นคือ ประเทศญี่ปุ่นกว้านซื้อเก็บไปจากแหล่งประเทศเขมรและให้ราคาดีกว่าไทยถึง2เท่า จึงทำให้ปลาเสือตอเริ่มหายจากเมืองไทยไปหลายปี
(ขอบคุณภาพจากคุณ Kong Teerayut Siu)
จนมาถึงปี 2554 เริ่มมีปลาเสือตอลายใหญ่กลับเข้ามาในตลาดประเทศไทยอีกครั้ง แต่ปลาไม่ได้มาจากแหล่งน้ำเดิมจากประเทศเขมรแล้ว แต่มาจากแหล่งใหม่คือประเทศเวียดนาม ซึ่งบางท่านบอกว่าเขมร เวียดนาม มีแม่น้ำที่ต่อเนื่องกัน จากการไล่ล่าหาปลาจากชาวประมงเขมรทำให้ปลาเสือตออพยพกระจายไปอยู่ตามแหล่งน้ำใหม่ๆ ที่ปลอดภัยกว่า
มันก็เป็นสิ่งที่ดีที่มีปลาเข้ามาในไทยอีกครั้ง แต่ราคาสูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ราคาปลาขนาด 2-3″ อยู่ที่ 8,500 บาทเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าแพงมากๆในยุคนั้น หลายๆท่านที่มีปลาก็รีบปล่อยทำกำไรเพราะกลัวจะเป็นราคาปั่น ซึ่งแท้จริงแล้ว มิได้เป็นเช่นนั้น เมื่อตลาดปลาสวยงามจากประเทศจีนเข้ามาให้ความนิยมในความงดงามของปลาเสือตอ และเลี้ยงคู่กับปลามังกร เพื่อเสริมบารมีของผู้เลี้ยง
หลังจากนั้น จากปี 2554-2557 ที่ปลาเสือตอได้หายไปอีกครั้งเป็นเวลานานถึง 3 ปี และปลาเสือตอเวียดนามก็กลับมาอีกครั้งในยุคที่เรียกว่า #ทองคำที่มีชีวิต
(ขอบคุณภาพจากคุณ Kong Teerayut Siu)
เพราะราคาปลา 3-4″ ลายใหญ่ 6 ขีดสมบูรณ์ ราคาตัวละ 65,000-75,000บาทเลยทีเดียว(ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกที่คนเวียดนามบางคนก็ยังไม่เคยเห็นปลาเสือตอของประเทศเค้าเองด้วยซ้ำ ซึ่งแปลว่าคงหายากมากๆเลยที่เดียว)
มันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้น แต่ยังมีแฟนพันธุ์แท้ปลาเสือตอกลุ่มหนึ่งที่ยังให้ความสำคัญ
และรวมกลุ่มกันเก็บปลาชุดนั้นไว้ในบ้านเราก่อนที่ถูกส่งขายไปประเทศจีน
และนับจากปี 2557 ราคาปลาเสือตอขนาด 3-4″ ลาย 6 ขีดสมบูรณ์ มีราคาแพงงถึง 100,000 บาทไทย ส่งผลให้ในปี 2559 จึงมีหลายๆ ท่านในวงการปลาสวยงามไทย หันมาให้ความสนใจ และพยายามที่จะเพาะขยายพันธุ์ปลาเสือตอเขมรและเวียดนาม (ไม่ใช่ปลาไทยนะครับเพราะปลาไทยสูญพันธุ์ไปนานกว่า 10 ปีแล้วจากแหล่งบึงบรรเพชร นครสวรรค์)
มีความพยายามเพาะพันธุ์ปลาเสือตอมาหลายต่อหลายรุ่น ผมขออธิบายในส่วนที่ผมเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้พยายามที่จะเพาะพันธุ์เช่นกัน เริ่มจากนำปลาที่เก็บรวบรวมได้ประมาณ 24 ตัวขนาด 14-18″ อายุปลาประมาณ 5-7 ปีลงในบ่อดินเพื่อเลี้ยงแบบธรรมชาติ เพราะมีบางข้อมูลแจ้งไว้ว่าปลาที่เลี้ยงในตู้หรือบ่อปูน ปลาเสือตอตัวเมียไข่จะไม่สุกและตัวผู้จะไม่มีน้ำเชื้อเพียงพอในการผสมพันธุ์ จึงนำปลาลงไปเป็นเวลา 1 ปี ให้อาหารเป็นกุ้งฝอยเป็นอาทิตย์ละ 30 kg เพราะกุ้งฝอยเป็นอาหารที่สามารถเพิ่มฮอร์โมนของการสืบพันธุ์ได้ดีกว่าลูกปลาดุก
พอครบ 1 ปี ทำการตีอวนบ่อขนาดกว้าง 10 เมตรยาว 25 เมตรน้ำลึก 1.50 เมตร ผลลัพธุ์คือปลาที่จับขึ้นมามีรูปร่างผอม และเหมือนปลาที่ไม่ได้รับอาหารเพียงพอ และไม่มีปลาที่ไข่สุกพร้อมผสมเลยแม้แต่ตัวเดียว (อาจเป็นเพราะปลาเสือที่ถูกเลี้ยงในตู้ที่มีพื้นที่จำกัดอาจปรับตัวในการหาอาหารในธรรมชาติได้ค่อนข้างยาก)
ในทางตรงข้ามปลาที่แยกเลี้ยงไว้ในตู้เพียงตัวเดียว กลับมีสุขภาพดีเยี่ยม ปลาตัวเมียมีลักษณะการขยายของช่องท้องที่ดีกว่าปลาที่ลงบ่อดินมากมาย ผมจึงนำปลาที่สมบูรณ์ในการแยกขุนเลี้ยงในตู้ไว้นั้น มาทำการฉีดฮอร์โมนกระตุ้น ซึ่งตามสูตรแจ้งไว้ว่าเป็นยาตัวเดียวกับการฉีดปลาแม่น้ำ และปลาคร๊าฟสวยงาม โดยผมจ้างเพื่อนที่เป็นฟาร์มปลาคร๊าฟมาฉีดให้ตามโดสปกติ ผลที่ได้คือ ปลามีอาการกระสับกระสาย ตื่นกลัว ทดลอง 8 ตัว
การฉีดครั้งแรก ไม่เกิดผลใดๆครับ ปลาไม่ตาย แต่ก็ไม่มีสัญญาณในที่จะพร้อม ทั้งในตัวผู้ที่ลองรีดน้ำเชื้อ และในตัวเมียที่ช่องเพศไม่มีอาการตอบสนองกับยาทั้งสิ้น ผมจึงตัดสินใจลองเป็นครั้งที่ 2 ผ่านมา 7 วัน จับปลาขึ้นมาฉีดในปริมาณโดสที่สูงขึ้น ผลสรุปคือ ฉีด 8 ตาย 8 ครับ ซึ่งเท่ากับว่ายาเร่งฮอร์โมรสูตรนี้ไม่มีผลดีต่อการเพาะปลาเสือตอแน่นอนครับ
(ขอบคุณภาพจากคุณ Kong Teerayut Siu)
แต่แล้ววันหนึ่ง เหตุการณ์บังเอิญก็เกิดขึ้น ผมเองก็ได้ล้มเลิกความคิดที่จะเพาะพันธุ์ปลาเสือตอแล้ว
ในช่วงเดือนสิงหาคม ฝนตกค่อนข้างทุกวัน ผมก็ได้สังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงของปลาเสือตัวตัวเมียที่เลี้ยงไว้ว่ามีลักษณะท้องเคลื่อนย้อยไปด้านหลังและลงมาต่ำใกล้ช่องเพศ และช่องเพศมีขนาดใหญ บวมแดง ซึ่งมีอาการตาลอย ว่ายน้ำเกร็งๆ คล้ายอาการจุกไข่ และบังเอิญที่ผมเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาโดยใช้วิธีสายยาง 2 เส้น เส้นที่ 1 ดูดออกไว้ที่กลางตู้ และอีกเส้นน้ำเข้า โดยลืมว่าเปลี่ยนน้ำไว้ เป็นเวลา 4 ชม. กลับมาได้พบเห็นสิ่งที่ไม่คาดคิดคือ เจ้าปลาเสือตอเขมรตัวเขื่องได้ไข่ออกมาที่พื้นตู้ในปริมาณคร่าวๆไม่เกิน 700 ฟอง ซึ่งไข่มีสีขาวอมเหลืองประมาณ 50% และสีขาวปกติ 50% จึงแยกไข่ปลาออกมา
เมื่อเห็นเช่นนั้น จึงรีบนำเจ้าเสือตอตัวผู้ที่ขุนแยกไว้มารีดน้ำเชื้อ แต่ผลคือน้ำเชื้อมีปริมาณน้อยมากๆประมาณ 2 หยด จึงนำไปผสมน้ำและทดลองทำการฟักแต่สรุปก็ไม่เป็นตัวนะครับ ไม่ทราบว่าเกิดจากจำนวนน้ำเชื้อที่น้อยหรือไข่ปลาที่ทิ้งไว้นานก่อนที่ผมมาพบ เพราะเคยได้ข้อมูลจากผู้ที่เป็นคนเพาะพันธุ์ได้ทางแถบนครสวรรค์ ว่าไข่ปลาที่ออกมาต้องใช้เวลาในการนำมาผสมกับน้ำเชื้อภายใน 30 นาที หรือเร็วกว่านั่น ส่วนน้ำเชื้ออาจอยู่ที่อายุของปลาและการรีดที่ถูกวิธี แต่ปลาเสือตอเขมรหรือเวียดนาม อายุที่เหมาะสมควรอยู่ประมาณ 7-10 ปี ขนาดประมาณ 15-18″ และใช้วิธีการขุนให้สมบูรณ์ด้วยกุ้งฝอยสลับลูกปลาดุกครับ ถ้าปลาตัวเมียช่องเพศบวมแดง ท้องเคลื่อนไปด้านหลังก็สามารถทดลองได้ และตัวผู้ ต้องทดลองรีดน้ำเชื้อเดือนละ1ครั้งเพื่อดูความพร้อมในการผสมพันธุ์
ซึ่งต่างกับปลาเสือตออินโดที่เคยเทสรีดน้ำเชื้อตัวผู้อายุ 1 ปี 6 เดือน เลี้ยงด้วยกุ้งฝอยมีน้ำเชื้อในปริมาณมากเลยครับ ส่วนตัวเมียก็เช่นเดียวกันที่ดูแล้วว่ามีวัยเจริญพันธุ์ที่เร็วกว่าปลาเขมรมากที่เดียว แต่ปลาอินโดผมไม่ได้ทดลองนะครับ เพราะเมื่อก่อนผมซื้อมาขุนตัวกี่สิบบาทจากผู้นำเข้าในจำนวนหลายพันตัว ผมเองด้วยความสงสัยว่าครั้งก่อนที่ปลาตัวเมียปล่อยไข่นั้นฟลุ๊คหรือไม่จึงได้ปลาชุดใหม่มา 14 ตัวเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อปูนอายุ 8-12 ปี มีความสมบูรณ์เต็มที่จากเจ้าของเดิม จึงทดลองแยกตัวเมียที่ดูแล้วสมบูรณ์ที่สุด มาให้อาหารเต็มที่เป็นเวลา 3 เดือน และถ่ายน้ำโดยการโฟลว์น้ำวันละ 5 ชม. โดยใช้ตู้ขนาด 60-30-30″ ทำซ้ำทุกวันผ่านมา 2 สัปดาห์ช่องเพศเริ่มแดงและขยายแล้ว ปลาตัวเมียปล่อยไข่ออกมาครับจึงได้ทราบถึงวิธีนี้ครับ แต่รอบนี้ไม่ได้ผสมนะครับ เพราะไม่มีตัวผู้ที่พร้อมผสมมีแต่ปลาทรงตัวเมียทั้งชุดครับ
และทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์จากผมและถ้าเพื่อนๆท่านใดต้องการข้อมูลทางด้านไหนเพิ่มเติมจะมีพี่ๆแอดมินที่มีความรู้ความสามารถมาเพิ่มเติมให้อีกทีนะครับ
Sompop Jitnamsup Peeraworn Siriyagorn แดง กระทุ่มแบน Sikarin Kullaphatkanon วัชระ บัวเอี่ยม Piyawat Cutchawaree
คอมเม้นท์ที่น่าสนใจ :
Kong Teerayut Siu คาดว่าคงหวังเพาะพันธุ์ครับ ทางญี่ปุ่นเคยมีข่าวว่าเปิดสถานเพาะเลี้ยงที่เขมรและเวียดนามเลยครับ แต่ยังไม่สำเร็จครับ
อีกหนึ่งโพสที่เกี่ยวข้องโดยคุณ Sikarin Kullaphatkanon จากคำเชิญของคุณ Kong Teerayut Siu.
ในช่วงปลายปี 57 ผมได้ขายเสือตอเขมรขนาดใหญ่ให้แก่ “เทพเหนือกาลเวลา” หรืออีกชื่อคือ พี่สมเกียรติ นครสรรค์จึงได้โอกาสพูดคุยกับแกพอสมควรในประเด็นการเพาะปลาเสือตอ ขอสรุปหลักๆไว้ คือ
1) คุณเกียรติ เน้นใช้พ่อแม่พันธุ์เฉพาะ “ปลาเสือเขมร” เท่านั้น “ปลาเสือเวียดนาม” เขาไม่นิยมใช้ เพราะเหตุผลที่ว่า เสือเขมร มีพันธุ์กรรมหลักในด้านเส้นที่ดีกว่า หรือธรรมชาติของมันมี 6 ขีดเป็นหลัก (เช่นเดียวกับเสือตอของไทย) ในขณะที่ปลาเวียดนาม ธรรมชาติน่าจะมี 7 ขีด ส่วนปลาที่มี 6 ขีดจะมีน้อยมาก นอกจากนี้ ในเรื่องสีสรร เสือที่กำเนิดจากเขมร ให้สีสรรสว่าง และนิ่งกว่า ในขณะที่เสือเวียดนาม มักจะด่างที่เส้นดำ และสีไม่นิ่งเท่า สังเกตุได้ตั้งแต่เล็กๆครับ
2) คุณเกียรติ แชร์ประสบการ์ณให้ฟังว่า พ่อแม่ปลามีลวดลาย แพทเทิ้นเป็นอย่างไร ก็ให้ลูกในลวดลายแพดเทิ้ลใกล้เคียงกัน (คล้ายๆปลากระเบนดำ)โดยเขาเคยใช้ปลาลายเสียในการ breed ปรากฏว่าปลาเกือบทั้งหมด มีลายติดแซม และเสีย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และเสียเวลา (ในขณะนั้น คุณเกียรติฯได้แชร์ภาพลูกปลาเสือเขมาลายคู่ 7 ขีด ที่หาไม่ได้แล้วในปัจจุบัน)
3) ในขณะนั้นผมมีปลาใหญ่ 6 ตัว เป็นเสือเขมรหกขีดทั้งหมดขนาด 16-20″ คุณเกียรติสนใจเพียง 3 ตัวที่มีลักษณะเป็นปลาเขมรสายพันธุ์ดั่งเดิมที่มาจากเขมร และได้ซื้อปลาจากผมไป 2 ตัว เพื่อใช้ผสมพันธุ์. โดยได้เล่าว่า ปีที่ผ่านมา การผสมเสือตอเขมร พี่เกียรติเสียพ่อแม่พันธุ์ไปจำนวนมาก จากการรีดไข่ และรีดน้ำเชื้อจากปลา แม้จะได้ผลผลิตมา แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่อง เนื่องจากปลาที่ใช้ผสม ต้องมีอายุมาก (อายุ 5-10 ปี) และมีขนาดใหญ่พอสมควร (มากกว่า 16″) รวมทั้งต้องมีความสมบูรณ์เพียงพอ (อ้วนหนาเพียงพอ)
4) สำหรับส่วนของผม ปัจจุบันผมไม่เคยคิดจะเพาะพันธุ์เสือตอเขมร เนื่องจากมีความสามารถไม่เพียงพอ และเคยเห็นผู้ที่มีประสบการณ์และเงินทุนเพียบพร้อมได้พยายามเพาะพันธุ์แต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นที่ผ่านมาจึงเป็นเพียงผู้เลี้ยง โดยเลี้ยงปลามาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จนปัจจุบัน 40 ขวบ และในอดีตเคยได้ปลาเสือตอไทย จากแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาด 20″ มาอยู่ในความครอบครอง (ข้อมูลปลา -มาจากลุงเต่าร้านตะวันฉาย ผู้นำเข้าปลามังกรทองจากมาเลย์รายใหญ่ในสมัย เกือบ สิบกว่าปีก่อน และผู้ที่ไปเอาปลาเสือตอตัวนั้นพร้อมกับผม คือ พี่ปิติ99 หรือพี่ปิติแห่ง pantown (ขออนุญาตเอ่ยถึงนะครับพี่) ได้ให้ข้อมูลผมไว้ โดยแม้ไม่อาจยืนยันได้ว่าปลาตัวนั่นใช่ปลาของไทยหรือไม่ แต่ปลาตัวนั้น มีลักษณะและสีสรรสวยงามกว่าปลาเสือตอทั่วไป และเสียดายเมื่อผมไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ปลาเสือตอตัวนั้นได้ตายไป
ส่วนในระยะหลังได้มีโอกาสเลี้ยงเสือเขมรผ่านมือมากมาย แม้ว่าปัจจุบันจะหลงเหลือเพียง ตัวเดียว แต่ถ้ามีโอกาสคงจะหามาเลี้ยงเพิ่มเติมต่อไปครับ
ข้อมูลที่ให้หวังว่าคงเป็นประโยชน์ และนานๆจะเข้ามาในห้องนี้นะครับตามคำเชิญของพี่ก้อง ครับ ?
ปล. รูปที่ลงเป็นปลาของผม
รูป 1-3 เสือเขมรขนาดใหญ่
รูป 4-6 เสือเวียดนามที่เก็บไว้ในช่วงต่อมา
รูป 7-8 เสือเขมรสายพันธุ์แท้ที่ขายให้แก่คุณเกียรติ
รูป 9 เสือเวียดนามที่คงเหลือเลี้ยงไว้ในปัจจุบัน
ปล 2 เวลาเข้ามาห้องนี้จะนึกถึงเพื่อนเก่าครับ พี่วุฒิ ไม่รู้ยังเข้ามาอ่านบ้างมั๊ยนะ
ข้อมูลจาก : คุณ Kong Teerayut Siu คุณ Sikarin Kullaphatkanon และสมาชิกกลุ่ม คนรักปลาเสือตอ