ปลาเสือตอ ตอนที่ 8 … การเคลื่อนย้ายปลาเสือตอ
โดยคุณ mofish_6 บนเว็บ pantown.com
การเคลื่อนย้ายปลาเสือตอ
สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งอัดอ๊อกใส่ถุงหรือใส่ถังลังโฟมลังพลาสสติก
ซึ่งจะใช้วิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับปลาที่สุด
การเคลื่อนย้ายโดยใช้ลังพลาสสติกหรือลังโฟม
เหมาะ สำหรับการเคลื่อนย้ายในระยะทางใกล้ๆ กินเวลาไม่นานเกิน 1 ชั่วโมง โดยใช้อ๊อกถ่านและหัวทราย โดยเจอะรูที่ฝาของภาชนะแล้วสอดสายออกซิเจนเข้าไป ปิดฝาให้สนิท ข้อควรระวังคือฝาต้องปิดให้สนิท เพราะปลาอาจดิ้นจนออกมาได้ หากฝาไม่มีที่ตัวล็อคต้องไม่ลืมหาสิ่งของที่มีน้ำหนักมาทับไว้
การเคลื่อนย้ายโดยอัดอ๊อกใส่ถุง เหมาะกับการเคลื่อนย้ายในระยะทางไกลๆ ถุงที่มีออกซิเจนบริสุทธิ์ ปลาสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัยได้นานหลายชั่วโมง
ขั้นตอน
1.ซ้อนถุงสองชั้น(ถุงเหนียว)โดยขั้นกลางด้วยกระดาษหนังสือ
พิมพ์หลายๆแผ่น
และใส่น้ำลงไปเล็กน้อยเพื่อความสะดวกในการซ้อนชั้นต่อไป
2.ซ้อนอีกชั้นด้วยถุงปุ๋ย (เพิ่มความทนทาน)
3.ซ้อน ชั้นสุดท้ายด้วยถุงดำ(ความมืดทำให้ปลาสงบลง) แล้วจึงใส่น้ำที่มาจากตู้ที่เลี้ยงลงไป อัดออกซิเจนลงไปในน้ำซัก 20 วินาทีเป็นการตีน้ำเพื่อเพิ่มอ็อกซิเจนให้น้ำในถุง และจึงรวบถุงอัดอ็อกมัดยาง เพื่อให้มัดได้สะดวกและแน่นควรแบ่งเป็นมัดสองชั้นชั้นละสองใบ
รวมถุง ทั้งหมดสี่ชั้นด้วยกัน และใส่ลงในลังโฟมโดยลักษณะวางตั้ง ซึ่งจะเสี่ยงต่อการรั่วมากกว่าวางนอน แล้วจึงปิดฝาได้เลย(ในกรณีเคลื่อนย้ายโดยขนส่ง)
ข้อแนะนำ
-การตักปลาขึ้นจากตู้ให้ยกส่วนหัวขึ้นก่อน ตรงกันข้ามการปล่อยปลาลงตู้ให้ปล่อยส่วนหางลงก่อนทั้งนี้เพื่อกันปลาดิ้นน้ำกระจายเปียก
-ควร เอามือประคองน้ำหนักตัวปลาทุกครั้งที่ตักปลาขึ้นเหนือน้ำเพื่อเป็นการลดน้ำ หนักกดทับบริเวณดวงตาปลาอันจะทำให้ปลาตาฝ้าหลังการย้าย และการใส่ปลาลงถุง ควรใช้มือจับทางด้านหัวปลาให้หัวปลาลงถุงก่อน เพราะการเอาด้านหางลงก่อนอาจจะทำให้กระโดงหลังที่แข็งตำถุงจนรั่วก่อนเดิน ทาง และควรประคองหัวปลาจนถึงน้ำก่อน จึงปล่อยเพื่อกันไม่ให้หัวปลากระแทกพื้นแข็ง
-การเคลื่อนย้ายปลาไม่ควรทำในขณะที่ปลากินอิ่มมากๆ ควรอดอาหารก่อนหนึ่ง วันเป็นอย่างน้อย
-ไม่ ควรวางถุงไว้ในจุดที่มีอากาศร้อนเช่นใต้รถทัวร์ หากจำเป็นน้ำแข็งจำนวนที่เหมาะสมห่อหนังสือพิมพ์ และใส่ถุงมัดยาง หย่อนลงในลังโฟม(ไม่ใช่ในถุงปลานะครับ)จะช่วยลงอุณหภูมิได้
-เดิน ทางในเวลากลางคืนเพื่อเลี่ยงรถติด และอากาศไม่ร้อน แต่ต้องระวังด่านตรวจนะครับ เพราะตามกฎหมายถือว่ามีความผิด ถึงแม้ว่าเสือตอตัวนั้นจะมีใบครอบครองก็ตาม เพราะคุณไม่มีใบเคลื่อนย้าย เจอตำรวจที่รู้ดีเข้าก็เสร็จครับ
-อันนี้สำคัญมากๆ หากเคลื่อนย้ายด้วยรถส่วนตัว ต้องเตรียมถุงสำรอง หนังยาง อ๊อกถังหรืออย่างน้อยอ๊อกถ่านไปด้วยครับ หากถุงรั่วไม่มากให้ซ้อนถุงได้เลย ถุงใหม่จะไปช่วยชะลอจุดที่รั่วได้ หรือจะทำการเปลี่ยนถุงอัดอ๊อกใหม่ก็แล้วแต่ หากรั่วมากจนถุงแฟบ น้ำไหลออกมากๆ และไม่มีอ๊อกถัง ให้ถ่ายปลาใส่ลังโฟม และใช้อ๊อกถ่านที่เตรียมมาครับ อ๊อกซิเจนบริสุทธิจากถัง กับอากาศจากปั้มลมถ่านต่างกันมาก หากนำออกซิเจนถังไปด้วยจะปลอดภัยกว่ามากครับ
-หากเดินทางด้วยรถส่วน ตัวเปิดแอร์เย็นเฉียบ เมื่อถึงที่หมายแล้ว ให้ระวังเรื่องการลงปลาด้วยครับ โดยในถุงมักมีอุณหภูมิต่ำกว่าในตู้หลายองศา ควรทำการปรับอุณหภูมิก่อนปล่อยปลาลงตู้
-การเดินทางด้วยเครื่องบินไม่ควรอัดออกซิเจนจนแน่นเกินไป เพราะอากาศจะขยายตัวจนถุงระเบิดออกได้ เพียงแค่หลวมๆหย่อนๆก็เพียงพอแล้ว
ระบบรักษา ความปลอดภัยในตู้ปลาเสือตอ
น่าแปลกที่เสือตอส่วนใหญ่มิได้ตายจากการเจ็บป่วย แต่ตายจากสาเหตุไฟฟ้าดับ ออกซิเจนไม่ทำงาน ซะมากกว่า เสือตอเป็นปลาที่ต้องการออกซิเจนในน้ำสูง เมื่อปั้มออกซิเจนไม่ทำงานเพียงไม่กี่ชั่วโมงปลาจะเริ่มหอบ ลอยหัวและตายในที่สุด ยิ่งในปลาที่อ้วนๆกินดีๆตัวสวยๆมักจะไปก่อนเพื่อน เพราะหายใจลำบาก และในตู้ที่มีขนาดเล็กเมื่อปั้มอ็อกซิเจนดับ ปลาจะขาดอากาศอย่างรวดเร็วกว่าตู้ทีมีขนาดใหญ่
ปั้มสำรองไฟ
ปั้ม สำรองไฟจะทำงานอัตโนมัตเมื่อไฟฟ้าดับ ปั้มจะจ่ายออกซิเจนสู่ตู้ปลาทันที โดยมีระยะเวลาอยู่ที่ประมาณ 5-9 ชั่วโมง ขนาดความแรง 2-4หัวทราย ราคาอยู่ที่ประมาณ 1000-1500 บาท เมื่อเทียบกับ ปลาเสือตอราคาหลายพัน หรือหลายหมื่นถือว่าคุ้มค่ามากครับ
ปั้มถ่าน
แบบ ใส่ถ่านไฟฉาย ขนาดความแรง 1หัวทราย มีราคาประมาณ 200-300บาท ถึงราคาจะถูกแต่ข้อเสียคือ ทำงานแบบอัตโนมือ เจ้าของต้องเอาออกมาใช้เองมือไฟดับ ซึ่งบางครั้งไฟดับในช่วงที่เจ้าของไม่อยู่บ้านซึ่งอาจทำให้แก้ไขได้ไม่ทัน การ
การเดินไฟ
การ เดินระบบไฟฟ้า ก็สำคัญต่อความปลอดภัย กล่าวคือในช่วงเวลาปกติควรจะแยกเต้าเสียบของปั้มน้ำและปั้มออกซิเจนออกจาก กัน หากมีความเสียหายเช่นเกิดการช็อตหรือฟิวของเต้าเสียบตัวใดตัวหนึ่งขาดไป อีกตัวจะช่วยเติมออกซิเจนให้กับตู้ปลาของเราได้ หากไว้รวมกัน เวลาดับก็จะดับทั้งหมดซึ่งอันตรายมาก
ฮีตเตอร์
ใน ช่วงหน้าหนาวสำหรับตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก และตั้งอยู่ในบริเวณที่โดนลมควรจะมีฮีตเตอร์เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ไม่ต่ำ กว่า 29 องศาเพื่อป้องการโรคต่างๆ ฮีตเตอร์ควรทำจากแท่งสแตนเลส เพื่อป้องกันการแตกระหว่างใช้
เทอร์โมมิเตอร์
หา กมีฮีตเตอร์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเทอร์โมมิเตอร์ หรือที่วัดอุณหภูมิเพื่อตรวจสอบการทำงานของฮีตเตอร์ เพราะบางครั้งฮีตเตอร์เสียไม่ตัดไฟ น้ำในตู้จะมีอุณหภูมิสูงมาก หากไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ไว้คอยตรวจสอบ ก็อาจจะสายเกินไป
ขอขอบคุณ : Mofish_6 ผู้เขียนบทความนี้บน pantown.com
ภาพปลาเสือตอ จาก คุณ Dhanakrit Choonhachatchawankun